3. หินแปร (Metamorphic Rock)

3. หินแปร (Metamorphic Rock)
เกิดจากการแปรสภาพโดยการกระทำของความร้อน ความดันและปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เนื้อหิน แร่ประกอบหินและโครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม การแปรสภาพของหินจะอยู่ในสถานะของของแข็ง ซึ่งจัดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
  • การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamorphism) 
    เกิดเป็นบริเวณกว้างโดยมีความร้อนและความดัน
    ทำให้เกิดแร่ใหม่หรือผลึกใหม่เกิดขึ้นมีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ 
    และแสดงริ้วขนาน (Foliation) อันเนื่องมาจากแร่เดิมถูกบี
    อัดจนเรียงตัวเป็นแนวหรือแถบขนานกัน เช่น หินไนส์ (Gneiss)
     หินชีสต์ (Schist) และหินชนวน (Slate) เป็นต้น
  • การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism)
     เกิดจากการแปรสภาพโดยความร้อนและปฏิกิริยาทางเคมี
    ของสารละลายที่ขึ้นมากับหินหนืดมาสัมผัสกับหินท้องที่
     ไม่มีอิทธิพลของความดันมากนัก ปฏิกิริยาทางเคมีอาจทำให้
    ได้แร่ใหม่บางส่วนหรือเกิดแร่ใหม่แทนที่แร่ในหินเดิม 
    หินแปรที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ 
    ไม่แสดงริ้วขนาน (Nonfoliation) เช่น หินอ่อน 
    (Marble) หินควอตไซต์ (Quartzite)
หินชนวน (Slate)
หินไนส์ (Gneiss)
หินควอตไซต์ (Quartzite)
หินอ่อน (Marble)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น